• น้ำแข็งขั้วโลกเหนือเสี่ยงละลายหมดใน10ปี

    จากการตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียมของ ESA พบว่า แผ่นน้ำแข็งขนาด 900 คิวบิก กม. ได้ระเหยไปจากขั้วโลกเหนือภายในเวลาเพียง 1 ปี หรือน้ำแข็งขั้วโลกเหนือกำลังละลายเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้ถึง 50% ...

  • นายกฯ อินเดียยันเตรียมส่งยานสำรวจดาวอังคาร

    โปรเจกต์ดังกล่าวจะถือเป็นความคืบหน้าอีกขั้นของโครงการอวกาศอันทะเยอทะยานของอินเดีย ซึ่งเคยส่งยานสำรวจขึ้นไปบนดวงจันทร์เมื่อ 3 ปีก่อน และวาดภาพภารกิจมนุษย์อวกาศคนแรกในปี 2016 ...

  • นักบินอวกาศชาวมะกัน“นีล อาร์มสตรอง”เสียชีวิตแล้ว

    รายงานข่าวระบุว่า “นีล อาร์มสตรอง” เคยเข้ารับการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา หลังแพทย์พบอาการอุดตันที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่หัวใจ ขณะที่ครอบครัวของ “นีล อาร์มสตรอง” ออกแถลงการณ์ระบุว่า เขาเสียชีวิตระหว่างการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ และมีอาการติดเชื้อ แต่ไม่ได้ระบุว่าเสียชีวิตที่ไหน แต่เขาก็เป็นเสมือนกับวีรบุรุษของชาวอเมริกันผู้ถูกละเลย เพราะได้ทำหน้าที่อย่างเต็มภาคภูมิให้กับประเทศชาติในฐานะนักบินขับไล่แห่งกองทัพเรือสหรัฐ นักบินทดสอบ และ นักบินอวกาศ. ...

  • นักบินอวกาศ "เสินโจว 9" เปิด "นิทรรศการการเชื่อมต่อกันในอวกาศพร้อมมนุษย์ครั้งแรกของจีน" ที่ฮ่องกง

    นิทรรศการดังกล่าวจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรีต่อเนื่องกันเป็นเวลา 15 วัน โดยมีการจัดแสดงสิ่งของอันล้ำค่า 16 ชุด ภาพถ่ายที่เกี่ยวกับยานอวกาศ "เสินโจว 9" กว่า 100 ภาพ ภาพทั้งตัวของนักบินอวกาศ 3 คนในระบบ 3 มิติ ตลอดจนบันทึกเกี่ยวกับนักบินอวกาศทำการทดลองหลายรายการในสภาพไร้น้ำหนัก ทั้งนี้ผู้ชมจะสามารถเข้าใจปฏิบัติการการบินอวกาศของ "เสินโจว 9" และเรื่องราวต่างๆ ของนักบินอวกาศ 3 คนได้เพิ่มขึ้นอีกขั้น ...


นอกเหนือจากวิกฤตน้ำท่วมฉับพลันที่ถล่มกรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์อย่างไม่ทันตั้งตัว และอีกหลายประเทศที่กำลังประสบกับภัยธรรมชาติอย่างเหนือความคาดหมาย ยังมีข้อมูลล่าสุดจากสำนักงานอวกาศแห่งยุโรป (ESA) ที่เตือนให้มนุษยชาติตระหนักว่า ขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่ชาวโลกจะต้องตระหนักถึงภยันตรายจากภาวะโลกร้อน

จากการตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียมของ ESA พบว่า แผ่นน้ำแข็งขนาด 900 คิวบิก กม. ได้ระเหยไปจากขั้วโลกเหนือภายในเวลาเพียง 1 ปี หรือน้ำแข็งขั้วโลกเหนือกำลังละลายเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้ถึง 50%

นอกจากนี้ ยังมีการส่งเรือดำน้ำเพื่อทำการสำรวจความเปลี่ยนแปลงของแผ่นน้ำแข็งตั้งแต่เมื่อปี 2004 ซึ่งจากผลการสำรวจยืนยันว่า ยิ่งปริมาณน้ำแข็งละลายลงมากเท่าไร ระดับน้ำในทะเลยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

หากน้ำแข็งละลายด้วยความเร็วในอัตรานี้ ขั้วโลกเหนืออาจปราศจากน้ำแข็งภายในเวลาเพียง 10 ปีนับจากนี้!

การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเหนือ จะเป็นสาเหตุให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น กลายเป็นภัยคุกคามต่อมหานครที่สำคัญๆ ของโลกซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ริมหรือใกล้ชายทะเล รวมถึงกรุงเทพฯ

นอกเหนือจากปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังอาจกลายเป็นชนวนความขัดแย้งระดับโลก เนื่องจากคาดว่าขั้วโลกเหนือเป็นแหล่งทรัพยากรพลังงานที่สำคัญ โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแหล่งท้ายๆ ของโลกที่ยังไม่ได้รับการสำรวจ รวมถึงอาจเป็นชนวนความขัดแย้งด้านการทำประมง เพราะหลังจากนั้นจะเกิดน่านน้ำสากลขึ้นใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว

แต่ไม่มีปัญหาใดน่าหนักใจเท่ากับระดับน้ำทะเลที่จะกลืนกินแผ่นดินและมหานครทั่วโลก

การเปิดเผยของ ESA มีขึ้นหลังจากที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน อ้างว่า การละลายของแผ่นน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ซึ่งอยู่ใกล้กับขั้วโลกเหนือและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีระดับการละลายที่ไม่ร้ายแรงและไม่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอย่างที่หวั่นเกรงกัน

ทั้งนี้ จากภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดพบว่า น้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ละลายอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ ทำให้เกิดความวิตกว่าอาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมโลก เนื่องจากปริมาณน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์มีมากพอที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 7 ม. หากละลายจนหมดเนื่องจากภาวะโลกร้อน

คณะนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมกันเขียนบทความในวารสารทางวิทยาศาสตร์ “Science” ระบุว่า การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเหนือรวมถึงเกาะกรีนแลนด์ เป็นการละลายตามธรรมชาติและจะมีการแข็งตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หรือที่เรียกว่า “ชีพจรของแผ่นน้ำแข็ง”

อย่างไรก็ตาม ชีพจรน้ำแข็งเริ่มผิดปกติเนื่องจากการละลายของน้ำแข็งเริ่มมีปริมาณมากขึ้น แต่การแข็งตัวเป็นแผ่นเช่นเดิมกลับมีอัตราที่ช้าและลดน้อยลง



ภาพถ่ายจากองค์การนาซาเผยให้เห็นพายุฝุ่นบนพื้นผิวดาวอังคาร


เอเอฟพี - อินเดียมีแผนส่งยานสำรวจอวกาศขึ้นไปโคจรรอบดาวอังคาร นายกรัฐมนตรีมานโมฮัน ซิงห์ ยืนยันในวันนี้ (15) หลังมีรายงานข่าวว่าภารกิจดังกล่าวมีกำหนดเปิดฉากในปลายปีหน้า

โปรเจกต์ดังกล่าวจะถือเป็นความคืบหน้าอีกขั้นของโครงการอวกาศอันทะเยอทะยานของอินเดีย ซึ่งเคยส่งยานสำรวจขึ้นไปบนดวงจันทร์เมื่อ 3 ปีก่อน และวาดภาพภารกิจมนุษย์อวกาศคนแรกในปี 2016

“ยานอวกาศของเราจะเดินทางไปยังดาวอังคาร และรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สำคัญๆ” ซิงห์กล่าวสุนทรพจน์ในงานวันประกาศอิสรภาพประจำปี โดยป่าวประกาศว่าแผนการนี้จะเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของแดนโรตี

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา สำนักข่าวเพรส ทรัสต์ ออฟ อินเดียรายงานว่า องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ไอเอสอาร์โอ) น่าจะส่งยานอวกาศไร้คนควบคุมขึ้นสู่วงโคจรอย่างเร็วที่สุดในเดือนพฤศจิกายน ปี 2013

ตามคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ไอเอสอาร์โอรายหนึ่งระบุว่า ค่าใช้จ่ายในภารกิจดาวอังคารนี้อยู่ที่ประมาณ 4,000-5,000 ล้านรูปี หรือ 70-90 ล้านดอลลาร์

ขณะที่ สหรัฐฯ รัสเซีย ยุโรป ญี่ปุ่น และจีนต่างส่งยานอวกาศขึ้นสำรวจดาวอังคารกันมาก่อนแล้วทั้งสิ้น โดยหุ่นยนต์คิวริออสซิตีของสหรัฐฯ เพิ่งลงแตะพื้นผิว “เรด แพลเนต” ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อเบิกทางสู่ภารกิจของมนุษย์อวกาศในอนาคต

โครงการสำรวจดาวอังคารของอินเดียนี้เกิดขึ้นในขณะที่รัฐบาลถูกกดดันจากปัญหาต่างๆ เช่น การขาดแคลนพลังงาน และระบบขนส่งภายในประเทศที่ย่ำแย่ หลังเกิดไฟดับในหลายส่วนทั่วประเทศ 2 วันติดต่อกันเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา


ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอรายงานว่า นายจิ่ง ไห่เผิง นายหลิว ว่าง และนางหลิว หยาง นักบินอวกาศประจำยานอวกาศ "เสินโจว 9" ร่วมเปิด "นิทรรศการการเชื่อมต่อกันในอวกาศพร้อมมนุษย์ครั้งแรกของจีน" ที่หอวิทยาศาสตร์ฮ่องกง เมื่อเช้าวันที่ 12 สิงหาคมนี้

นิทรรศการดังกล่าวจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรีต่อเนื่องกันเป็นเวลา 15 วัน โดยมีการจัดแสดงสิ่งของอันล้ำค่า 16 ชุด ภาพถ่ายที่เกี่ยวกับยานอวกาศ "เสินโจว 9" กว่า 100 ภาพ ภาพทั้งตัวของนักบินอวกาศ 3 คนในระบบ 3 มิติ ตลอดจนบันทึกเกี่ยวกับนักบินอวกาศทำการทดลองหลายรายการในสภาพไร้น้ำหนัก ทั้งนี้ผู้ชมจะสามารถเข้าใจปฏิบัติการการบินอวกาศของ "เสินโจว 9" และเรื่องราวต่างๆ ของนักบินอวกาศ 3 คนได้เพิ่มขึ้นอีกขั้น

ในการนี้ นายจิ่ง ไห่เผิง นายหลิว ว่าง และนางหลิว หยาง ได้ร่วมลงนามไว้เป็นที่ระลึกบนกระดานฉากงานนิทรรศการ และร่วมตัดริบบิ้นกับแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมพิธี






26 ส.ค. 2555 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า “นีล อาร์มสตรอง” นักบินอวกาศคนแรกของสหรัฐ ซึ่งเดินทางไปเหยียบดวงจันทร์มาแล้ว เสียชีวิตเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ขณะมีอายุได้ 82 ปี ด้วยอาการติดเชื้อขณะเข้ารับการผ่าตัดโรคหลอดเลือดหัวใจ

รายงานข่าวระบุว่า “นีล อาร์มสตรอง” เคยเข้ารับการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา หลังแพทย์พบอาการอุดตันที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่หัวใจ ขณะที่ครอบครัวของ “นีล อาร์มสตรอง” ออกแถลงการณ์ระบุว่า เขาเสียชีวิตระหว่างการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ และมีอาการติดเชื้อ แต่ไม่ได้ระบุว่าเสียชีวิตที่ไหน แต่เขาก็เป็นเสมือนกับวีรบุรุษของชาวอเมริกันผู้ถูกละเลย เพราะได้ทำหน้าที่อย่างเต็มภาคภูมิให้กับประเทศชาติในฐานะนักบินขับไล่แห่งกองทัพเรือสหรัฐ นักบินทดสอบ และ นักบินอวกาศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างประวัติศาสตร์ในฐานะนักบินอวกาศคนแรกของสหรัฐ ซึ่งเดินทางไปกับยานอวกาศ “อพอลโล 11” แล้วร่อนลงจอดบนดวงจันทร์ พร้อมกับลงไปเหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรก เมื่อวันที่ 20 ก.ค.2512 พร้อมกับเพื่อนนักบินอวกาศอีกคน “บัซ อัลดริน” ท่ามกลางผู้ชม 450 ล้านคนที่ได้ชมการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ไปทั่วโลก ซึ่งคำพูดแรกของเขาคือ นี่คือก้าวแรกของผู้ชายคนหนึ่ง แต่จะเป็นก้าวแรกของมนุษยชาติ

“นีล อาร์มสตรอง” เกิดเมื่อวันที่ 5 ส.ค.2473 ที่เมืองวาปาโคเนตา รัฐโอไฮโอ ชื่นชอบเรื่องการบินมาตั้งแต่เด็ก เรียนขับเครื่องบินครั้งแรกเมื่ออายุ 15 ปี พออายุ 16 ปีก็ได้ใบอนุญาตนักบิน เคยเป็นนักบินในกองทัพเรือสหรัฐ ปฏิบัติภารกิจ 78 ครั้งในสงครามเกาหลี

ปี 2498 เป็นนักบินทดสอบอยู่ที่ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย จากนั้นอีก 7 ปีต่อมา ได้รับเลือกจาก องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา ให้มาเป็นนักบินอวกาศที่เมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัส และ เกษียณอายุจากนาซาในปี 2514 ด้านชีวิตส่วนตัว แต่งงานกับ แคโรล ไนท์ เมื่อปี 2542 แต่มีบุตรชาย 2 คน จากการสมรสก่อนหน้านี้

ต่อมาประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐ กล่าวชื่นชม นักบินอวกาศอเมริกันผู้ล่วงลับ “นีล อาร์มสตรอง” ว่าเป็นหนึ่งในวีรบุรุษชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล ในฐานะผู้เป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลังได้ดำเนินรอยตามในการมุ่งมั่นสู่ดวงดาว


แถลงการณ์ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ระบุว่า เมื่อ “นีล อาร์มสตรอง” และลูกทีมนักบินอวกาศสหรัฐ เดินทางไปกับยานอวกาศ อพอลโล 11 ในปี 2512 พวกเขาได้นำแรงบันดาลใจของชาวอเมริกันไปด้วย และ ได้แสดงให้ทั่วโลกเห็นว่า จิตวิญญาณของชาวอเมริกันอยู่เหนือจินตนาการว่า อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ และ เมื่อ “นีล อาร์มสตรอง” ก้าวเท้าลงไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรก เขาก็นำความสำเร็จของมนุษยชาติให้เป็นที่ประจักษ์และไม่เคยลืมเลือน

“นีล อาร์มสตรอง” และเพื่อนนักบินอวกาศ “เอ็ดวิน บัซ อัลดริน” เหยียบดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2512 โดยมีผู้คนทั่วโลก 500 ล้านคนชมการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ขณะประธานาธิบดีโอบามาเพิ่งจะมีอายุได้เพียง 8 ปี ได้กล่าวยกย่องเขาว่า “นีล อาร์มสตรอง” เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ แต่ไม่ใช่เฉพาะยุคของเขาเท่านั้น แต่ตลอดกาล จิตวิญญาณของ “นีล อาร์มสตรอง” ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตกับการสำรวจในสิ่งที่พวกเราไม่รู้ แต่ก็ยืนยันได้ว่า เราสามารถไปได้ไกลสูงขึ้นและไกลกว่าในอวกาศ ซึ่งตำนานนี้จะยังคงอยู่ต่อไปและจุดประกายให้กับเราได้รู้ถึงความยิ่งใหญ่ของก้าวเล็กๆที่เหยียบลงบนดวงจันทร์

ขณะเดียวกัน นายมิตต์ รอมนีย์ คู่แข่งของประธานาธิบดีโอบามาในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐช่วงปลายปีนี้ ก็ได้กล่าวยกย่อง “นีล อาร์มสตรอง” เช่นกันว่า เขาได้ก้าวเข้าไปอยู่ในหอแห่งเกียรติยศของชาวอเมริกันแล้ว

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ในที่สุด


กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง
กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสงเป็นกล้องที่ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกโดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่ง ซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกันให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอี ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกโดยตัวกล้องจะมีเลนส์ 2 ตัวขึ้นไปคือ เลนส์วัตถุ และเลนส์ตา โดยเลนส์วัตถุจะทำหน้าที่รับภาพจากวัตถุ แล้วหักเหแสงไปยังเลนส์ใกล้ตา ซึ่งเลนส์ใกล้ตาจะทำหน้าที่ขยายภาพจากเลนส์วัตถุอีกทีหนึ่ง โดยลักษณะการวางเลนส์จะใช้เลนส์วัตถุที่มี ความยาวโฟกัส ยาว และเลนส์ใกล้ตาที่มีความยาวโฟกัสสั้น โดยในการวางเลนส์ จะวางเลนส์วัตถุ (ความยาวโฟกัสยาว) ไว้ด้านหน้า และเลนส์ใกล้ตา (ความยาวโฟกัสสั้น) ไว้ด้านหลัง โดยระยะห่างของเลนส์ 2 ตัวนี้คือ ความยาวโฟกัสเลนส์วัตถุ + ความยาวโฟกัสเลนส์ตา เป็นต้น

ตัวอย่างภาพดวงจันทร์ที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์

สำหรับกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงของกาลิเลโอนั้น เลนส์วัตถุจะเป็นเลนส์นูน และเลนส์ตาจะเป็นจากเลนส์เว้า ซึ่งข้อดีของการใช้ระบบเลนส์แบบนี้คือภาพที่ได้จะเป็นภาพหัวตั้งโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นมาช่วย แต่ข้อเสียของการใช้เลนส์เว้าเป็นเลนส์ตาคือระบบกล้องจะมีมุมมองภาพที่แคบมาก ต่อมา โยฮันเนส เคปเลอร์ได้ใช้เลนส์นูนเป็นเลนส์ตาของกล้องโทรทรรศน์แทน ซึ่งทำให้ระบบกล้องโทรทรรศน์ให้ภาพกลับหัว และมีมุมมองภาพกว้างขึ้น ระบบเลนส์แบบนี้ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

ข้อดีของกล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้คือเป็นกล้องที่สร้างได้ง่ายและมีราคาเริ่มต้นที่ถูก และเมื่อมีขนาดของหน้ากล้องหรือขนาดของเลนส์วัตถุเท่ากันกล้องชนิดนี้เป็นกล้องชนิดที่สามารถให้แสงผ่านเข้าเลนส์ได้มากที่สุดเพราะไม่มีอะไรมาบังหน้ากล้องอยู่ จึงทำให้แสงผ่านเข้ากล้องได้มากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว อีกทั้งยังเก็บรักษาได้ง่ายเพราะเนื่องจากมีเลนส์ปิดหัวปิดท้ายกล้อง ทำให้ความชื้นหรือฝุ่นไม่สามารถเข้าไปในกล้องได้โดยง่าย จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับมือสมัครเล่นทั่วไป แต่กล้องชนิดนี้หากมีหน้ากล้องที่ใหญ่ขึ้นจะทำให้มีราคาแพงขึ้นจากกล้องชนิดอื่นมาก และสามารถผลิตได้ขนาดหน้ากล้องเล็ก และ เลนส์ที่มีคุณภาพไม่ดีมักจะมีความคลาดสีของเลนส์ เพราะดัชนีความหักเหของแสงไม่เท่ากันทำให้แสงสีต่าง ๆ มักมีจุดโฟกัสไม่เท่ากันและเกิดรุ้งบริเวณขอบภาพในที่สุด วิธีการแก้ปัญหาในอดีตได้พยายามแก้ปัญหามานานแล้ว โดยการเพิ่มความยาวโฟกัสเลนส์วัตถุจนทำให้มีความคลาดสีน้อยลงแต่ยุ่งยากมาก และไม่สะดวกเป็นอย่างยิ่ง

ความคลาดสีของกล้องโทรทรรศน์หักเหแสง
หากว่าเราใช้ปริซึมมาส่องกับแสงแดดจะพบว่า ปริซึมจะแตกแสงออก 7 สีด้วยกันเพราะปริซึมจะหักเหแสงเหล่านั้น และถ้าสังเกตให้ดีเข้าไปอีกจะเห็นว่าสีที่หักเหมานั้นแต่ละสีจะยาวออกมาจากแท่งแก้วปริซึมไม่เท่ากันและเราจะเรียกปรากฏการณ์เหล่านี้ว่าดัชนีความหักเหของสีไม่เท่ากันและถ้าหากมาใช้กับเลนส์เราจะเรียกว่าความคลาดสีหรือ ความคลาดรงค์ นั่นเอง

ความคลาดสีจะพบได้กับเลนส์ที่มีคุณภาพต่ำโดยเกิดจากการที่สีของแสงต่างมีดัชนีความหักเหของไม่เท่ากันทำให้สีแต่ละสีไม่สามารถมารวมกันที่จุดรวมภาพจัดเดียวกันได้และทำให้เกิดรุ้งที่ขอบภาพ และในที่สุดภาพที่ได้มีแสงสีไม่ครบในภาพ และแสงที่หายไปจะเกินออกตรงขอบภาพ

ในอดีตได้มีการพยายามแก้ความคลาดสีด้วยการเพิ่มความยาวโฟกัสของเลนส์วัตถุขึ้นแต่จะทำให้กล้องยาวมากหลายสิบเมตรทำให้การที่จะขยายกล้องหันหาดาวที่ต้องการศึกษาเป็นไปด้วยความยุ่งยากและคุณภาพที่ได้ก็ไม่ดีเท่าที่ควร
แสดงถึงความคลาดสีที่เกิดขึ้น

ปัจจุบัน เราแก้ปัญหาความคลาดสีของกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงได้โดยการใช้เลนส์เว้า และเลนส์นูน ที่มีดัชนีหักเหแสงแตกต่างกันมาประกอบ เป็นเลนส์ 2 ชิ้นที่สามารถแก้ให้แสงสีเขียวและแดงมีจุดโฟกัสใกล้กันมากขึ้นได้ เรียกว่าเลนส์ Doublet Achromatic และมีการใช้เลนส์ถึง 3 ชิ้น (Triplet Apochromatic) หรือมากกว่าได้ และอาจมีการใช้ชิ้นเลนส์พิเศษเช่นเลนส์ ED (Extra-Low Dispersion) หรือเลนส์ Fluorite เพื่อให้ภาพที่มีความคลาดสีน้อยที่สุด แต่การใช้เลนส์จำนวนมาก หรือชิ้นเลนส์พิเศษเหล่านี้ ทำให้กล้องโทรทรรศน์มีราคาสูงขึ้นมากเช่นกัน
[แก้]กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง
สร้างได้สำเร็จครั้งแรกในปี ค.ศ. 1668 โดย ไอแซค นิวตันซึ่งในตอนนั้นถือเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับวงการดาราศาสตร์ในสมัยนั้น หลักการทำงานของกล้องสะท้อนแสงจะใช้กระจกเว้าสะท้อนแสงแทนที่จะใช้เลนส์ในการหักเหแสง โดยยังมีหลักการที่คล้ายคลึงอยู่บ้างคือ จะใช้กระจกเว้าที่มีความยาวโฟกัสยาว (เหมือนเลนส์วัตถุของกล้องหักเหแสง) สะท้อนแสงจากวัตถุเข้าที่กระจกรองซึ่งจะสะท้อนแสงของวัตถุเข้าที่เลนส์ตาและเข้าตาของผู้ใช้ในที่สุด โดยกล้องชนิดนี้มีข้อดีคือกล้องสามารถที่จะผลิตให้มีขนาดหน้ากล้องใหญ่มาก ๆ ได้ซึ่งจะทำให้สำรวจวัตถุที่จางบนท้องฟ้าได้ดีขึ้น และเมื่อเทียบกับกล้องหักเหแสงหากหน้ากล้องเท่ากันแล้วกล้องแบบสะท้อนแสงจะมีราคาถูกกว่ามาก แต่ทั้งนี้ก็มีราคาเริ่มต้นที่ไม่ถูกนักเหมือนกับกล้องหักเหแสง และกล้องชนิดนี้ยังสามารถใช้สำรวจช่วงคลื่นได้หลากหลายกว่ากล้องหักเหแสง เพราะช่วงคลื่นเหล่านั้นจะไม่ถูกดูดซับโดยแก้วของเลนส์อีกทั้งยังไม่พบปัญหาเรื่องความคลาดสีของกล้องหักเหแสงออกไปจนหมดเพราะกล้องใช้หลักการการสะท้อนจะไม่มีปัญหาเรื่องความคลาดสีเข้ามาเกี่ยวข้อง

แต่กล้องชนิดนี้มีข้อเสียคือตรงหน้ากล้องจะมีกระจกรองบังหน้ากล้องอยู่ (เพื่อสะท้อนแสงจากกระจกเว้าเข้าสู่เลนส์ตา) จึงทำให้แสงผ่านเข้าได้น้อยลงและทำให้ภาพมืดลงด้วยด้วยสาเหตุนี่กล้องชนิดสะท้อนแสงจะต้องมีขนาดหน้ากล้องใหญ่เพื่อชดเชยข้อเสียดังกล่าวและจะทำให้ราคาแพงขึ้นด้วยแต่ถึงอย่างไรก็ดีผู้ศึกษามักจะนิยมใช้กล้องสะท้อนแสงมากกว่ากล้องหักเหแสงเพราะมีราคาที่ถูกกว่าเมื่อหน้ากล้องเท่ากันและสามารถเลือกซื้อกล้องที่มีหน้ากล้องใหญ่ ๆ ได้
ระบบฐานตั้งกล้องดูดาว
ในการใช้กล้องดูดาวอุปกรณ์ที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือขาตั้งกล้องซึ่งจะทำให้ที่ตั้งกล้องไว้และหันกล้องไปในทิศทางที่ถูกต้องและล็อกอยู่ที่วัตถุนั้นเพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถที่จะศึกษาวัตถุนั้นได้อย่างง่ายดาย แต่ในการสำรวจท้องฟ้านั้นขาตั้งกล้องกล้องจะต้องมีความแม่นยำและเที่ยงตรง รวมทั้งมั่นคงเป็นพิเศษทั้งนี้เพราะการสำรวจดวงดาวนั้นมีมุมในการหันขาตั้งกล้องที่สั้นมากๆอีกทั้งหากกล้องมีกำลังขยายที่สูงเข้าไปอีกการสั่นเพียงเล็กน้อยของขาตั้งกล้องจะทำให้ภาพนั้นสั่นไหวมากและไม่สามารถที่จะสำรวจท้องฟ้าได้เลยยังไม่รวมถึงการที่ดาวจะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆบนท้องฟ้าตามการหมุนของโลก ซึ่งหากสังเกตด้วยตาเปล่าก็จะไม่สามารถสังเกตเห็นได้แต่ในกำลังขยายสูงๆจะเห็นได้ว่าดาว กำลังเคลื่อนที่อยู่ซึ่งการเคลื่อนที่นี้จะทำให้ดาวหลุดออกนอกกล้องอย่างรวดเร็วและไม่สามารถสำรวจวัตถุนั้นได้จึงต้องใช้ขาตั้งกล้องที่มีความสามารถต่างๆเข้ามาทดแทนปัญหานี้ต่อไป

  1. ฐานตั้งกล้องชนิดมุมเงย-มุมทิศ (Alt-azimuth Mount) ฐานตั้งกล้องชนิดนี้จะคุ้นเคยกันดีเพราะเป็นขาตั้งกล้องชนิดเดียวกับขาตั้งกล้องถ่ายภาพโดยทั่วไป ฐานตั้งกล้องชนิดนี้มีแกนหมุน 2 แกน คือแกนหมุนในแนวราบเพื่อปรับมุมทิศ และแกนหมุนในแนวดิ่งเพื่อปรับมุมเงย ข้อดีของขาตั้งชนิดนี้คือใช้งานง่ายและมีราคาถูก ส่วนข้อเสียสำคัญคือ ขาตั้งกล้องชนิดนี้ ต้องใช้การหมุนมอเตอร์ทั้ง 2 แกน เพื่อติดตามการเคลื่อนที่ขึ้นตกของวัตถุท้องฟ้า ทำให้ไม่สามารถติดตามวัตถุท้องฟ้าได้นิ่ง พอที่จะใช้ในงานถ่ายภาพทางดาราศาตร์ได้ และทำให้เกิดปัญหาการหมุนของภาพ (Field Rotation) เมื่อใช้ถ่ายภาพเป็นระยะเวลานานอีกด้วย
  2. ฐานตั้งกล้องชนิดอิเควทอเรียล (Equatorial Mount) ฐานตั้งกล้องชนิดนี้ออกแบบมาสำหรับการใช้งานทางดาราศาสตร์โดยเฉพาะ ประกอบไปด้วยแกนหมุน 2 แกนที่มีแกนหนึ่งชี้ไปที่ขั้วฟ้าเหนือ (ใกล้กับดาวเหนือ) เรียกว่า Polar Axis และอีกแกนหนึ่งที่หมุนตั้งฉากกัน เรียกว่าแกนเดคลิเนชัน (Declination Axis) ฐานตั้งกล้องชนิดนี้มีการใช้งานอ้างอิงกับระบบพิกัดศูนย์สูตรฟ้า ซึ่งแกน Polar นั้น ทำหน้าที่เปลี่ยนพิกัด Right Ascension และ แกนเดคลิเนชั่นทำหน้าที่เปลี่ยนพิกัด Declination เพื่อเล็งไปที่วัตถุท้องฟ้าที่ต้องการ และเมื่อเวลาผ่านไป ดาวจะเคลื่อนที่รอบขั้วฟ้าเหนือ ทำให้เราสามารถติดตามดาวด้วยการหมุนแกน Polar เพียงแกนเดียวได้ ทำให้ฐานตั้งชนิดนี้สามารถติดตามวัตถุท้องฟ้าได้แม่นยำกว่า และเหมาะกับการใช้งานทางดาราศาสตร์มากกว่าแบบแรก ในการใช้งานจริง เราจะติดมอเตอร์เพื่อขับแกน Polar เพื่อให้กล้องตามดาวได้ตลอดเวลา
  3. ฐานตั้งกล้องคอมพิวเตอร์ (Computerized Mount) เป็นฐานตั้งกล้องที่มีการฝังระบบคอมพิวเตอร์ลงไป ทำให้สามารถชี้ไปที่วัตถุท้องฟ้าที่กำหนดได้อัตโนมัติ โดยการระบุวัตถุที่ต้องการลงไปบนระบบควบคุม ซึ่งอาจเป็นรีโมต หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฐานตั้งกล้องจะรับพิกัดของวัตถุนั้นจากฐานข้อมูล และหมุนกล้องไปที่วัตถุนั้น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม